ในทางเศรษฐศาสตร์มหภาคได้แบ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 ระยะ คือ เป้าหมายในระยะสั้น และเป้าหมายในระยะยาว
โดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Growth หรือ Economics
Growth )เป็นเป้าหมายระยะยาวที่รัฐมีหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ประกอบกับการรักษาเสรียรภาพทางเศรษฐกิจ(Stability) ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น
ไปพร้อมๆกัน และเป็นที่เข้าใจว่า
การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยในบทความนี้จะนำเสนอทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิค ตามด้วย Solow และ endogeneous growth
ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิค (Neoclassic economic growth theory)
เป็นทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดจากปริมาณสินค้าและบริการที่สังคมผลิตได้
ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่แตกต่างกันมาจาก ปัจจัยนำเข้า(input factor) ในกระบวนการผลิต ดังนั้น
ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิคจึงสามารถเขียนเป็นฟังก์ชันได้ดังนี้
Y=f(K,L,R,T)
โดยที่ Y= อัตราการขยายตัวของGDP
K=
ปัจจัยทุน(Capital)
L=ปัจจัยแรงงาน(Labor)
R=ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน(Resource)
T=เทคโนโลยี(Technology)
อธิบายได้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นกับปัจจัยดังกล่าวอย่างเพียงพอก็จะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีสมมติฐานอยู่ว่า
ทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินมีจำกัด ความต้องการแรงงานเป็นสัดส่วนกับปัจจัยทุน
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยภายนอก(Exogenous
variable) เนื่องจากการพัฒนาทางด้านนี้เป็นไปได้ช้า
จากสมมติฐานดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยทุนเป็นหลัก
นั่นคือการลงทุนหรือการสะสมทุน
ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาหากต้องการบรรลุเป้าหมายต้องให้ความสำคัญกับการระดมเงินออมเพื่อมาลงทุน
No comments:
Post a Comment