Tuesday, September 17, 2013

Growth Theory : Solow Growth model


ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ Solow (Solow Growth Model)
            สาระสำคัญของ Solow Growth Model คือ ปัจจัยที่มีส่วนในการพัฒนาทางเศรษฐกิจนอกจากการสะสมทุนแล้ว ยังมีการออมและจำนวนประชากรที่เพิ่ม(Population Growth)ก็มีส่วนด้วย กล่าวคือเมื่อการสะสมทุนมาถึงระดับหนึ่งแล้ว จะเข้าสู่ Steady State ดังนั้นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็จะไปสนับสนุนการสร้างผลผลิตมวลรวมของประเทศได้ และ Solow ยังกล่าวต่อว่า หากจะพัฒนาเศรษฐกิจต่อได้ต้องพัฒนาเทคโนโลยี (Technological Progress) แต่ Solow Growth Model ยังกำหนดให้ปัจจัยนี้เป็น Exogenous Variable
                                                Y=f(A,K,L)                                       
โดยที่ Y= ผลผลิตโดยรวม
         A=ความก้าวหน้าเทคโนโลยี(Technological Progress)
         K= ปัจจัยทุน(ทุนกายภาพ)
         L=ปัจจัยแรงงาน(ทุนมนุษย์)
           
โดยมีข้อสมมติพื้นฐานของแบบจำลองคือ เป็น Cobb-Douglas function มีผลได้ต่อขนาดคงที่ (Constant Return to scale) จากปริมาณแรงงานเป็นสัดส่วนกับทุน และ A เป็นปัจจัยที่กำหนดจากภายนอกซึ่งคงที่ในระยะสั้น ซึ่งมีผลต่อโมเดลด้วย หมายความว่าหากปัจจัยทุนเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะสามารถจะทำให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้
จากสมมติติฐานดังกล่าวที่ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่คงที่ในระยะสั้น และปริมาณแรงงานก็เป็นสัดส่วน ของการลงทุน ดังนั้นโมเดลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Solow จึงขึ้นกับปัจจัยทุนเป็นหลัก โดยการลงทุนในปัจจัยทุนจะเพิ่มหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นมีการออมมากเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นเราจะได้ข้อสรุปจาก Solow Growth Model ดังนี้
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นอยู่กับการออมและการลงทุนในปัจจัยทุนเป็นสำคัญ โดยหากประเทศมีการออมมากและมีการนำเงินออมมาใช้ในการลงทุน เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็จะทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศที่มีการออมและการลงทุนต่ำ และ Solow ยังชี้ให้เห็น Convergence per Capita income hypothesis ที่ว่าประเทศยากจนสามารถเจริญเติบโตทันประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการลดน้อยถอยลงของผลผลิตส่วนเพิ่ม เนื่องจากทรัพยากรที่จำกัด


Economic Growth theory(1)


ในทางเศรษฐศาสตร์มหภาคได้แบ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 ระยะ คือ เป้าหมายในระยะสั้น และเป้าหมายในระยะยาว โดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Growth หรือ Economics Growth )เป็นเป้าหมายระยะยาวที่รัฐมีหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการรักษาเสรียรภาพทางเศรษฐกิจ(Stability) ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ไปพร้อมๆกัน และเป็นที่เข้าใจว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

โดยในบทความนี้จะนำเสนอทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิค ตามด้วย Solow และ endogeneous growth

ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิค (Neoclassic economic growth theory)
            เป็นทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดจากปริมาณสินค้าและบริการที่สังคมผลิตได้ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่แตกต่างกันมาจาก ปัจจัยนำเข้า(input factor) ในกระบวนการผลิต ดังนั้น ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของนิโอคลาสสิคจึงสามารถเขียนเป็นฟังก์ชันได้ดังนี้
                                         Y=f(K,L,R,T)                                          
โดยที่ Y= อัตราการขยายตัวของGDP
         K= ปัจจัยทุน(Capital)
         L=ปัจจัยแรงงาน(Labor)
         R=ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน(Resource)
         T=เทคโนโลยี(Technology)

            อธิบายได้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นกับปัจจัยดังกล่าวอย่างเพียงพอก็จะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีสมมติฐานอยู่ว่า ทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินมีจำกัด ความต้องการแรงงานเป็นสัดส่วนกับปัจจัยทุน เทคโนโลยีเป็นปัจจัยภายนอก(Exogenous variable) เนื่องจากการพัฒนาทางด้านนี้เป็นไปได้ช้า จากสมมติฐานดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยทุนเป็นหลัก นั่นคือการลงทุนหรือการสะสมทุน ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาหากต้องการบรรลุเป้าหมายต้องให้ความสำคัญกับการระดมเงินออมเพื่อมาลงทุน

AEC คือ Platform ใหม่ทางธุรกิจ

    
Infrastructure/Platform เป็นตัวที่อยู่ฐานสุดของ Business Ecosystem จึงสามารถกล่าวได้ว่า Infrastructure/Platform เป็นตัวพื้นฐาน ระบบจึงยังไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจในระดับที่สูงขึ้นไปได้ เป็น Unit Basic Principal ที่จำเป็นสำหรับการทำอย่างอื่น  การสร้างผลิตภัณฑ์ในระดับนี้ขึ้นมามักไม่ได้อาศัยความคิดมากนัก อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นและทำให้มีสินค้าที่อยู่ในระดับ อื่นๆเกิดขึ้นมาได้เพราะหากไม่มี Infrastructure ผลิตภัณฑ์ในระดับอื่นๆไม่สมเหตุสมผลที่จะเกิดขึ้น ทำให้จากการสังเกตุพบว่าการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็น Infrastructure ในปัจจุบันมักจะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายส่วนเพื่อให้เกิดขึ้นมาเป็น พื้นฐานให้แก่ผลิตภัณฑ์ในระดับที่สูงขึ้นไป ตัวอย่างเช่น ถนน รางรถไฟ (ที่เป็นฐานให้กับ รถยนต์ การขนส่ง) คอมพิวเตอร์(เป็นฐานให้กับนักพัฒนา software) และสถานีอวกาศ(สำหรับยานอวกาศ)เป็นต้น
อย่าง ไรก็ตาม Platform มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การปรับตัวตามการพัฒนาก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพัฒนา  ในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งจะมีผู้ที่ยังยึดติดอยู่กับ Platform เดิมอยู่ และต้องพ่ายแพ้ให้แก่ผู้ที่มีการปรับตัวไปกับ Platform ที่พัฒนา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทฟิล์มโกดักของประเทศอเมริกา ที่ในยุคก่อนมีกล้องดิจิตอล โกดักเป็นบริษัทในด้านการถ่ายรูปด้วยฟิมส์เป็นอันดับหนึ่ง แม้มีการพัฒนากล้องดิจิตอลขึ้มาแต่บริษัทยังเชื่อว่าคนยังต้องการการถ่ายภาพที่มีคุณภาพด้วยฟิล์มจึงทำให้ไมปรับตัวไปตามเทคโนโลยีกล้องดิจิตอล และจะเห็นได้ว่าประสบกับความล้มเหลวไป ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ล่าช้าที่อาจเกิดจากการตัดสินใจ หรือเทคโนโลยี
ทุกวันนี้มีการพูดถึงเรื่องประชาคมอาเซียนกันมาก การเปลี่ยนแปลงนี้ก็เหมือนกับการเปลี่ยน Infrastructure หรือ Platform ครั้งใหญ่ คำถามคือประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองไปกับสิ่งใหม่เหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะจะเห็นได้ว่าประเทศเรายังยึดติดที่เรื่องของค่าแรง ที่อุตสาหกรรมมักอ้างว่าหากมีราคาสูงจะทำให้สียโอกาสทั้งๆที่ แรงงานเป็นเพียงหนึ่งในทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตอย่างหนึ่งเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่แท้จริงนั้นยังด้อยประสิทธิภาพอยู่มากเป็นต้น หากไม่ตระหนักในด้านนี้เป็นไปได้ว่า ประเทศไทยอาจล้มลงจากการเปิดประชาคมอาเซียนก็เป็นได้