ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ Solow (Solow Growth Model)
สาระสำคัญของ Solow
Growth Model คือ
ปัจจัยที่มีส่วนในการพัฒนาทางเศรษฐกิจนอกจากการสะสมทุนแล้ว
ยังมีการออมและจำนวนประชากรที่เพิ่ม(Population Growth)ก็มีส่วนด้วย
กล่าวคือเมื่อการสะสมทุนมาถึงระดับหนึ่งแล้ว จะเข้าสู่ Steady State ดังนั้นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็จะไปสนับสนุนการสร้างผลผลิตมวลรวมของประเทศได้
และ Solow ยังกล่าวต่อว่า
หากจะพัฒนาเศรษฐกิจต่อได้ต้องพัฒนาเทคโนโลยี (Technological Progress) แต่ Solow Growth Model ยังกำหนดให้ปัจจัยนี้เป็น Exogenous
Variable
Y=f(A,K,L)
โดยที่ Y= ผลผลิตโดยรวม
A=ความก้าวหน้าเทคโนโลยี(Technological Progress)
K=
ปัจจัยทุน(ทุนกายภาพ)
L=ปัจจัยแรงงาน(ทุนมนุษย์)
โดยมีข้อสมมติพื้นฐานของแบบจำลองคือ เป็น Cobb-Douglas function มีผลได้ต่อขนาดคงที่ (Constant
Return to scale) จากปริมาณแรงงานเป็นสัดส่วนกับทุน และ A เป็นปัจจัยที่กำหนดจากภายนอกซึ่งคงที่ในระยะสั้น ซึ่งมีผลต่อโมเดลด้วย
หมายความว่าหากปัจจัยทุนเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะสามารถจะทำให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้
จากสมมติติฐานดังกล่าวที่ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่คงที่ในระยะสั้น
และปริมาณแรงงานก็เป็นสัดส่วน ของการลงทุน ดังนั้นโมเดลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Solow จึงขึ้นกับปัจจัยทุนเป็นหลัก โดยการลงทุนในปัจจัยทุนจะเพิ่มหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นมีการออมมากเพียงพอหรือไม่
ดังนั้นเราจะได้ข้อสรุปจาก Solow Growth Model ดังนี้
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นอยู่กับการออมและการลงทุนในปัจจัยทุนเป็นสำคัญ
โดยหากประเทศมีการออมมากและมีการนำเงินออมมาใช้ในการลงทุน เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ก็จะทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศที่มีการออมและการลงทุนต่ำ
และ Solow ยังชี้ให้เห็น Convergence
per Capita income hypothesis ที่ว่าประเทศยากจนสามารถเจริญเติบโตทันประเทศที่พัฒนาแล้วได้
ซึ่งเป็นผลมาจากการลดน้อยถอยลงของผลผลิตส่วนเพิ่ม เนื่องจากทรัพยากรที่จำกัด