ตลาดมะนาว (Lemon Market)
"The bad driving out the good” (Gresham's law)
ในปี 2001 George Akerlof ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเศรษฐศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาความไม่สมมาตรของข้อมูล
(Asymmetric
information) เรียกให้ง่ายๆ คือ คนสองฝ่ายมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งๆ
หนึ่งไม่เท่าเทียมกัน เมื่อข้อมูลที่ได้รับไม่เท่าเทียมกัน การตั้งราคาตามคุณค่าที่คาดหวัง
ย่อมไม่เท่ากัน คำว่า Lemon หรือ มะนาว เปรียบได้กับการเลือกซื้อมะนาว
ผู้ซื้อจะไม่รู้ว่ามะนาวที่ซื้อไปเปรี้ยวหรือหวาน[1] ส่วนคำว่า Lemon
Market เป็นคำ slang ที่ใช้แทนตลาดรถมือสองนั่นเอง
เนื่องจากงานศึกษานี้เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์
ผู้อ่านลองจินตนาการถึงตลาดรถมือสอง เมื่อกล่าวถึงตลาดจะประกอบไปด้วย ผู้ซื้อคือฝั่งอุปสงค์
และผู้ขายคือฝั่งของอุปทาน โดยผู้ซื้อที่ต้องการซื้อรถมือสองจะไม่ทราบถึงคุณภาพของรถที่ซื้อจนกว่าจะนำมาใช้ขับจึงจะทราบว่ารถที่ซื้อมานั้นใช้งานได้ดีหรือเลือกพลาดซื้อมาซ่อมแล้วซ่อมอีก
ในขณะที่ผู้ขายจะทราบดีถึงสภาพของรถที่ตนขาย
และแน่นอนว่าผู้ขายทั่วๆไปมักจะไม่บอก ด้วยเหตุนี้ผู้ซื้อเช่นเรา จึงยินดีจ่ายเพียงค่าเฉลี่ยของราคารถทั้งดีและไม่ดีรวมกัน
ในส่วนของผู้ขายก็จะยินดีขายในราคาที่ตนเองได้กำไร
ปัญหาของผู้ขายไม่ได้
อยู่ที่รถไม่ดี เพราะรถเหล่านั้นจะให้กำไรที่ค่อนข้างสูง
เนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อยอมซื้อมาก ปัญหามาตกอยู่ที่รถที่คุณภาพดี ที่ผู้ขายมีสิทธิ์ที่จะตั้งราคาที่สูงแต่กลับไม่สามารถทำได้เนื่องจาก
ผู้ซื้อไม่ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับรถที่มีคุณภาพดีเพียงพอที่จะตัดสินใจซื้อรถเหล่านี้ในราคาที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย
เมื่อรถดีๆเหล่านั้นขายไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นผู้ที่ครอบครองรถดีจะไม่นำรถไปขายที่ตลาดรถมือสอง แต่จะมีแนวโน้มที่จะขายผ่านรูปแบบอื่นมากกว่า
เราจึงได้ยินการโฆษณาว่า “รถบ้าน” แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่ารถบ้านจะดีเสมอไป
เพราะปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ใครเป็นผู้ขาย แต่อยู่ที่ปัญหาความไม่สมมาตรของข้อมูลต่างหาก
จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้เจ้าของรถที่ดีจะไม่ขายรถในตลาดรถมือสอง
และการที่เจ้าของรถดีไม่ขายในตลาดรถมือสองทำให้ คุณภาพโดยรวมของรถในตลาดมือสองนั้นต่ำลงไปด้วย
และผู้ซื้อก็จะให้ความคาดหวังกับคุณภาพรถในตลาดรถมือสองต่ำเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า
ปัญหาหลักในตลาดรถมือสอง คือความไม่เท่ากันของข้อมูล (Asymmetric
information) เป็นหลัก
ทั้งนี้ยังมีองค์ประกอบภายในเรื่องดังกล่าวได้แก่ แรงจูงใจที่ผู้ขายอยากขายรถที่ไม่ดี
และมักจะไม่บอกว่ารถคันไหนดี ในขณะที่ผู้ซื้อเองก็ไม่มีความไว้ใจต่อผู้ขายเช่นกัน ทฤษฎีนี้พบได้มากมาย เช่น การซื้อขายประกัน
หรือแม้แต่ตลาดทุนเอง
ในทางเศรษฐศาสตร์ปัญหานี้ทำให้เกิดความล้มเหลวของตลาด
หรือ Market
Failure การจะขจัดปัญหานี้ หรืออย่างน้อยบรรเทาลง สามารถทำได้ดังนี้
ประการแรก หากให้ตลาดจัดการกันเอง ควรมีการให้การรับรองในคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ
และการที่มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าในการดำเนินธุรกิจที่ประสบปัญหา Lemon สร้างชื่อเสียงที่ดี และสร้างความเชื่อถือ ประการที่สอง
หากมองในเชิงการแทรกแซงโดยรัฐซึ่งกลุ่มเสรีนิยมที่มีต้นกำเนิดจาก Liberalism
อาจไม่ค่อยเห็นด้วย แต่หลังจากที่ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จัก
ประเทศอเมริกาก็ได้ออกกฎหมายที่ใช้ควบคุมปัญหานี้ โดยเรียกว่า “Lemon Laws”
ที่ควบคุมเหนือไปกว่าการประกันหลังการขาย (Warranties)
ท้ายสุดนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ยังฝากข้อสรุปอีกว่า “The cost of dishonesty, therefore,
lies not only in the amount by which the purchaser is cheated; the cost also
must include the loss incurred from driving legitimate business out of
existence” เป็นการเตือนผู้ที่ดำเนินธุรกิจแบบไม่โปร่งใส
หากไม่ตั้งใจคุณอาจกำลังทำลายสิ่งที่คุณรักเองก็ได้.
Gracefully written information on this blog are going to support me for my coming assignments. Every point was very clear and taught me few new parameters. I would like to use this information in coming future.
ReplyDeleteรถ เก๋ง มือ สอง ราคา ถูก