Wednesday, March 26, 2014

หนี้สาธารณะ (Public Debt)



หนี้สาธารณะ
(PUBLIC DEBT)

                  หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ และภาพด้านบนนั้นไม่ได้หมายความว่าบทความนี้จะเขียนถึงข้อเสียของการมีหนี้สาธารณะแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ อยู่ในกระแสสังคมอย่างมาก จากความพยายามของรัฐบาลในการกู้เงิน โดยการออก พรบ. เงินกู้ เป็นจานวน 2 ล้านๆบาท ซึ่งจานวนนี้จะไม่นามาคานวณลงในหนี้สาธารณะเนื่องจากยอดรวมจะผิดวินัยทางการคลังที่กาหนดไม่เกิน ร้อยละ 60 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) โดยการที่รัฐใดๆจะกู้มี สองวัตถุประสงค์ใหญ่ๆ คือเพื่อแก้ปัญหา กับเพื่อสร้างสิ่งที่ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน โดย ผู้เขียนจะโฟกัสไปที่ ประเด็นหลังคือเพื่อการพัฒนาประเทศ
ในบทความนี้จะนาเสนอมุมมองด้านต่างๆที่เกี่ยวกับหนี้ ในทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน โดยมิได้สนใจทางด้านกฎหมาย และข้อจากัดด้านต่างๆ ทางการเมือง การกล่าวเช่นนี้ คือจุดเด่นของเศรษฐศาสตร์เรื่องหนึ่งครับ (ผู้เขียนมองว่าเป็นเสน่ห์ แต่หลายคนที่ไม่เข้าใจมองว่าเป็นจุดอ่อน) ที่นักเศรษฐศาสตร์มักจะกาหนดข้อสมมติเอาไว้ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ ดังนั้น บทความนี้จึง สมมติว่า ผู้คิดโครงการลงทุนและรัฐบาลมีวิสัยทัศคิดแต่โครงการดีๆไม่คอรัปชั่น ซึ่งแค่นี้ผู้อ่านหลายท่านก็อาจรับไม่ได้ เพราะมันไม่อาจจะเป็นจริงได้เลย แต่นี่คือวิถีการคิดแบบเศรษฐศาสตร์หลักทั่วๆไป และเพื่อไม่ให้ผู้อ่านเข้าใจที่ผิด ผู้เขียนยัง Focus ไปที่ทางการเงินเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง ยังอาจมีเรื่องของ โครงสร้างประชากร แรงงาน หรือปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวแต่ถูกควบคุมเอาไว้ อันเนื่องมาจากผู้เขียนไม่มีข้อมูลครอบคลุม และยังไม่เข้าใจในตอนที่เขียนบทความนี้
หากท่านพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ไม่มีใครต่อต้านการเป็นหนี้ เพราะวิธีคิดของเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมทาให้มุมมองเป็นไปในทางด้านบวก คือ กู้หนี้มาเพื่อพัฒนาแล้วผลลัพท์ท้ายสุดทาให้มีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดี วัดโดยหลัก Utility แต่ในความเป็นจริงมีเศรษฐศาสตร์กระแสรอง อย่างที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น เศรษฐกิจพอเพียง ที่ไม่นิยมก่อหนี้ ใช้เท่าที่มี (จริงๆแล้วเด็กรุ่นใหม่ หากจะเข้าใจประเทศไทยเก่า ศึกษาได้จากเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นมาจากสังคมไทยโดยแท้จริง ผู้เขียนชอบคานี้มากที่อธิบายแนวคิดคนไทยเก่าต้นๆรัตนโกสินธ์ คาไทยหนึ่งคือ “ปกติสุข” จริงๆแล้วในอดีตความสุขคือ ความปกติ ไม่มีระบบทุนแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทุนนิยม ระบบนี้ของต่างชาติเข้ามาหลัง เบาว์ริ่ง)
มาว่ากันที่หนี้สาธารณะกันก่อน หนี้ที่ประชาชนทุกคนต้องรับผิดชอบ เท่ากันทุกคน แต่จริงๆไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นกับว่า ประชาชนคนนั้นต้องเสียไหร่ เลี่ยงเก่งขนาดไหน ลดหย่อนอย่างไรบ้าง เป็นกลุ่มคนที่ถูกจัดเก็บได้อย่างไร เริ่มมีงานทาในระบบที่ต้องเสียภาษีที่อายุเท่าไหร่ และ ซื้อของเลี่ยงภาษีหรือเปล่า แต่เอาเป็นว่าโดยเฉลี่ยต่อคนเป็นเท่าไหร่
 เริ่มต้นกันที่ข้อมูลจริง โดยข้อมูลจาก สานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุหนี้สาธารณะต่อ GDP เมื่อ มกราคม 2557 ที่ 45.75 % สอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้เขียนนามาจาก The Economist ระบุไว้ที่ 48.6 % อาจไม่เท่ากัน แต่ก็ถือได้ว่าใกล้เคียงและไม่เกิน 50 % ตามที่รักษาการคลัง กิตติรัตน์ ได้บอกไว้ ในบทความนี้จะไม่ได้พูดถึงรายละเอียดว่าหนี้แต่สะส่วนใครเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลแน่นอน หากเราดูตัวเลขนิ่งๆ แบบนี้ หนี้สาธารณะของประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา แต่จากภาพที่ 1 ประเทศไทยมีหนี้สีส้มเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งไม่ได้น้อย โดยในบทความนี้ผมจะขอเสนอข้อสังเกตุดังนี้
1. อัตราเปลี่ยนแปลงของหนี้ คือการให้ความสนใจกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของหนี้ (ตัวแปรทางเศรษฐกิจ มี 2 แบบ คือ Stock (สถิตย์) กับ Flow (พลวัติ)) ซึ่งข้อมูลจาก The Economist คือ เพิ่มขึ้น 18.5 % จากปีที่แล้ว ประเทศไทยเรา ได้สีแดงในแผนที่ ซึ่งแปลว่าเราเพิ่มขึ้นมาก ที่น่าตกคือ หนี้สาธารณะ เราเพิ่มในช่วงที่เศรษฐกิจ ไม่ได้มีปัญหา ในช่วง 2009-2012 เพราะอะไรที่ประเด็นนี้ถึงสาคัญ ลองคิดถึงธุรกิจทั่วไป เราจะสังเกตุว่า จะมีการซื้อคืนพันธบัตรในช่วงเศรษฐกิจดี โดยบริษัทที่ต้องการฐานะทางการเงินที่มั่นคง เนื่องจาก เตรียมโอกาสกู้หนี้เอาไว้ในช่วงเศรษฐกิจแย่ แนวคิดนี้เหมือนกันเลยกับระดับประเทศ
2. Hidden Debt หนี้แอบซ่อนอยู่ จริงๆแล้วประเทศเรามีต้นทุนหนี้ที่น่ากลัวหนึ่งส่วนคือ ประชานิยม มีทุกรัฐบาลมากน้อยต่างกัน ในที่นี้ ประชานิยม ประกอบไปด้วย โครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพ (ได้ไม่คุ้มเสีย) มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และประชาชนยังคิด หรืออาจจะเป็นอย่างนั้นจริงๆคือ ควบคุมเงินและโครงการไม่ได้ คิดว่าเป็นผลประโยชน์ที่รัฐมอบให้โดนสดุดี

 

  ปัญหาของประชานิยม คือ เสพติด ทาแล้วยกเลิกยาก ซึ่งหากโครงการขาดทุนเท่าไหร่ก็ต้องเอามารวมเป็นหนี้ด้วย อีกทั้งปัจจุบันหนี้ครัวเรือนก็เยอะอยู่แล้ว และเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า ที่เพิ่มนี้ไปก่อให้เกิดผลิตภาพในอนาคตด้านใดหรือไม่
3. Trade-off คือการได้อย่างเสียอย่าง การพัฒนาเป็นสิ่งจาเป็น แต่ต้องแลกมากับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนไม่ต่อต้านหนี้เลย โดยเฉพาะเรียนเศรษฐศาสตร์ในกระแสหลักมา แต่ทุกครั้งที่จะก่อหนี้ เศรษฐศาสตร์สอนว่า คือ การใช้เงินในอนาคต ผลประโยชน์ก็ควรที่จะเกิดในอนาคตด้วย เพื่อให้การบริโภคนั้น Smooth เช่นการที่ลงทุนเพื่อเรียนหนังสือ คือ การทาเพื่อตัวเราเองในอนาคต ถ้าให้เห็นภาพระดับประเทศชัดๆ เช่น รถคันแรก ลูกหลานเราได้อะไรจากการขาดทุนนี้ หรือแม้แต่ตัวเราเองได้อะไรจากการขาดทุนนี้
กล่าวโดยสรุป หนี้สาธารณะ ที่รัฐตั้งใจก่อนี้ ด้านหนึ่งมีประโยชน์ แต่นามาซึ่งความเสี่ยง โดยบทความนี้ได้ให้ความสนใจถึง จังหวะเวลาที่เหมาะสม(Timing) และสถาการณ์ทางการเงิน ซึ่งเป็นตัวกาหนดว่า การก่อหนี้นี้ จะถูกหรือผิด จะเป็นโอกาสหรือสร้างหายนะ